คู่มือการวิเคราะห์อาการเสียของเครื่องปรับอากาศ

วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 2023-09-29

หากต้องการวิเคราะห์อาการเสียต่างๆ ของเครื่องปรับอากาศ Samsung ให้ทดลองสังเกตุอาการต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างที่กำลังใช้งาน ในบางอาการเมื่อสังเกตุเห็นอาจสามารถที่จะแก้ไขปัญหาเบื้องต้นในระหว่างที่รอช่างเข้ามาแก้ไข อาจจะเป็นช่วงเวลากลางคืนที่ทางช่างไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบและซ่อมแซมได้ทันที 

ทำความรู้จักอุปกรณ์ต่างๆบนเครื่องปรับอากาศเบื้องต้น (ตัวในบ้าน)

AC
การวิเคราะห์อาการเสียตัวเครื่องในบ้าน

ไฟแสดงสถานะปรกติ
LED 1
LED 2
LED 3
ความผิดปรกติ
การแก้ไขปัญหา
E198
➣ เปิดเครื่องแล้วเครื่องไม่ทำงาน ➣ ตรวจสอบฟิวส์ที่เทอร์มินอลว่าขาดหรือไม่
E101, E102
➣ เกิดข้อผิดพลาดของการสื่อสาร ระหว่างตัวในบ้านและตัวนอกบ้าน ➣ ตรวจสอบสายสัญญาณระหว่างตัวในบ้านและตัวนอกบ้าน
➣ ตรวจสอบโดยการลอยสายสัญญาณและดูว่าตัวในบ้านและตัวนอกบ้านฟ้องอาการเสียเรื่องการติดต่อสื่อสารหรือไม่
➣ ตรวจสอบ Noise filter ว่าขาดหรือไม่
E121
➣ เกิดข้อผิดพลาดตัวตรวจจับอุณหภูมิที่รับลมรีเทิร์น ➣ ตรวจสอบเซ็นเซอร์โดยการวัดค่าความต้านทาน ต้องได้ค่า 10Kโอห์มที 25 องศา
➣ ตรวจสอบคอนเนคเตอร์ของเซ็นเซอร์ว่ามีการหลุดหลวมหรือไม่
E122, E123
➣ เกิดข้อผิดพลาดตัวตรวจจับอุณหภูมิที่ตำแหน่งบริเวณท่อคอยด์เย็น ➣ ตรวจสอบเซ็นเซอร์โดยการวัดค่าความต้านทานต้องได้ค่า 10Kโอห์มที 25 องศา
➣ ตรวจสอบคอนเนคเตอร์ของเซ็นเซอร์ว่ามีการหลุดหลวมหรือไม่
➣ ตรวจสอบว่าเซ็นเซอร์ที่ตำแหน่งท่อคอยด์เย็นใส่ถูกตำแหน่งหรือไม่ เพราะมี 2 ขนาด
E154
➣ เกิดข้อผิดพลาดที่มอเตอร์พัดลม ตัวในบ้าน ➣ ตรวจสอบค่าความต้านทานของมอเตอร์
➣ ตรวจสอบแรงดันไฟที่บอร์ดเมนจ่ายให้มอเตอร์และมอเตอร์จ่ายย้อนกลับมาที่บอร์ดเมน
➣ ตรวจสอบการเสียบสายคอนเนคเตอร์ว่าหลุดหลวมหรือไม่
E162, E163
ไฟ LED กระพริบทุกดวง
➣ EEPROM / ความผิดปรกติของ Option code ตัวในบ้าน ➣ ทำการใส่ Option code ใหม่อีกครั้ง
E422
➣ เกิดข้อผิดพลาดเนื่องจากน้ำยา ทำความเย็นในระบบไม่ไหล ➣ ตรวจสอบ EEV เปิดหรือไม่
➣ ตรวจสอบท่อเดินน้ำยามีการพับ/บี้ หรือไม่
➣ ตรวจสอบวาว์ลเซอร์วิสเปิดสุดหรือไม่
➣ ตรวจสอบว่ามีการอุดตันภายในท่อน้ำยาทำความเย็นที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายในและภายนอกหรือไม่
➣ ตรวจสอบการรั่วของน้ำยาทำความเย็น
E554
➣ น้ำยาทำความเย็นในระบบไม่ เพียงพอ
*รูปแบบLED ข้างต้นจะปรากฏเมื่อมีข้อผิดพลาดกับอุปกรณ์ภายนอกบ้าน ให้ทำการตรวจสอบการแสดงผลของLEDภายนอกบ้าน
➣ ตรวจสอบ EEV เปิดหรือไม่
➣ ตรวจสอบท่อเดินน้ำยามีการพับ/บี้ หรือไม่
➣ ตรวจสอบวาว์ลเซอร์วิสเปิดสุดหรือไม่
➣ ตรวจสอบว่ามีการอุดตันภายในท่อน้ำยาทำความเย็นที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายในและภายนอกหรือไม่
➣ ตรวจสอบการรั่วของน้ำยาทำความเย็น
*-ตรวจสอบสอบว่าได้มีการเติมน้ำยาทำความเย็นให้เพียงพอ สำหรับการเดินท่อน้ำยาที่มีความยาวเกินกว่า 7.5 เมตรตรวจสอบ EEV เปิดหรือไม่
E200
➣ เกิดข้อผิดพลาดที่ตัวนอกบ้าน ➣ ตรวจสอบอาการเสียที่ตัวนอกบ้าน
➣ ตรวจสอบโดยการลอยสายสัญญาณ F1,F2 เพื่อวิเคราะห์อาการเสีย
 
➣ เปิดเครื่องแล้วเครื่องไม่ทำงานโชว์ไฟดวงบนกระพริบ ➣ ตรวจสอบ PCB main
*สำหรับรุ่น AR**MY**

หมายเหตุ:

  • = ปิด  
  • = กระพริบ  
  • = เปิด
การวิเคราะห์อาการเสียตัวเครื่องนอกบ้าน

ปัญหาตัวนอกบ้าน

สีเหลือง

สีเขียว

สีแดง
Display
อาการเสีย
➣ ไม่มีไฟจ่ายเข้าเครื่องหรือภาคจ่ายไฟกระแสตรงมีปัญหา
➣ แรงดันไฟตกชั่วขณะ(1 วินาที)
➣ เครื่องทำงานปรกติ (Normal operation)
➣ การติดต่อสื่อสารระหว่างตัวในบ้านและตัวนอกบ้านมีปัญหา
*ตรวจสอบโดยการลอยสายสัญญาณ F1, F2 เพื่อเช็คว่าบอร์ดตัวในบ้านและตัวนอกบ้านฟ้องสื่อสารหรือไม่
➣ ตัวภายในบ้านกับตัวนอกบ้านมีปัญหา (Indoor <---> Outdoor)
➣ กระแสไฟฟ้าเกิดที่ภาค IPM (ตรวจสอบมอเตอร์พัดลมตัวนอกบ้าน,คอมเพลสเซอร์,บอร์ดตัวนอก)
*
ลอยสายมอเตอร์พัดลม,คอมเพลสเซอร์ เพื่อตรวจสอบก่อนทำการเปลี่ยนบอร์ดตัวนอกทุกครั้ง
E461
➣ คอมเพลสเซอร์ไม่ทำงานหรือสตาร์ทไม่ได้ (ตรวจสอบค่าความต้านทานคอมเพลสเซอร์)
E470
➣ EEPROM ทำงานผิดพลาด (ไม่มีข้อมูล)
E466
➣ แรงดันไฟฟ้าเกินที่ภาคจ่ายไฟ DC-Link มีปัญหา (แรงดันไฟต่ำหรือสูงเกินไป)
E483
➣ แรงดันไฟฟ้าเกินกว่าค่าที่กำหนดหรือแผงวงจรมีปัญหา (แรงดันไฟฟ้ามากกว่า 300Vac)
E484
➣ ความต้านทานที่ภาค PFC มีปัญหา (วงจรภายในบอร์ดตัวนอกมัปัญหา)
E221
➣ เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิคอยด์ร้อนตัวนอกบ้านมีปัญหา (OUT-TH sensor error)
*
ค่าความต้านทานของเซ็นเซอร์มึค่า 10Kโอห์ม ที่ 25 องศา
E416
➣ อุณหภูมิที่ท่อส่งสูงเกินไป (ตรวจจับด้วย Discharge temperature sensor)
E251
➣ เซ็นเซอร์อุณหภูมิภายในท่อส่งมีปัญหา (DIS-TH sensor มีปัญหา)
E468
➣ เซ็นเซอร์ตรวจจับกระแสเกินมีปัญหา (วงจรภายในบอร์ด outdoor มีปัญหา)
E474
➣ เซ็นเซอร์อุณหภูมิที่แผ่นระบายความร้อน (Heatsink) มีปัญหาอาจเกิดจากการขันน็อตปีนเกลียวหรือไม่มีซิลิโคนระบายความร้อนอยู่ระหว่าง Heatsink กับ IC
E485
➣ เซ็นเซอร์ตรวจจับกระแสภาค Input มีปัญหา (วงจรภายในบอร์ด outdoor )
E465
➣ แรงดันไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้าที่คอมเพลสเซอร์สูงเกินไป
E500
➣ อุณหภูมิที่แผ่นระบายความร้อน (Heatsink) สูงเกินไป
E231
➣ เซ็นเซอร์อุณหภูมิที่แผงคอยด์ร้อนตัวนอกบ้านมีปัญหา (CON-TH sensor)
E203
➣ การสื่อสารขาดหายระหว่าง Inverter Micom กับ Main Micom ปัญหา (บอร์ด outdoor)
*
ตรวจสอบมอเตอร์พัดลม,คอมเพลสเซอร์ ก่อนทำการเปลี่ยนบอร์ด outdoor ทุกครั้ง
E458
➣ มอเตอร์พัดลมที่ตัวนอกบ้าน (Outdoor) มีปัญหา
*
ตรวจสอบโดยการวัดค่าความต้านทานของมอเตอร์และวัดแรงดันไฟฟ้าของบอร์ด outdoor
*
มอเตอร์ AC --> ทำงานได้ แต่เครื่องฟ้อง error motor ให้ตรวจสอบ sensor temp. outdoor
E471
➣ ข้อมูล EEPROM ทำงานผิดพลาด
E467
➣ สายไฟต่อเข้าคอมเพลสเซอร์มีปัญหา
E440
➣ การตั้งโหมดการทำงานผิดเงื่อนไขในกรณีการทำความร้อน (OUT Temp > 40 องศา)
E441
➣ การตั้งโหมดการทำงานผิดเงื่อนไขในกรณีการทำความเย็น (OUT Temp < -7 องศา)
E469
➣ เซ็นเซอร์ตรวจจับไม่พบแรงดันไฟฟ้า (DC) ที่ภาคจ่ายไฟ DC-Link
*
ตรวจสอบ Reactor โดยการวัดค่าความต้านทาน อยู่ที่ 0.1-0.4 โอห์มและตรวจสอบสายไฟ
E488
➣ เซ็นเซอร์ตรวจจับไม่พบแรงดันไฟฟ้า (AC) ที่ขาเข้า (สายไฟเข้าและสาย Reactor)
*ตรวจสอบ Reactor โดยการวัดค่าความต้านทานจะมีค่าอยู่ที่ 0.1-0.4 โอห์มและตรวจสอบคอนเนคเตอร์สายไฟที่ขั้วของ Reactor และที่บอร์ดว่าแน่น,ไม่มีขี้เกลือ
E462
➣ ตรวจพบมีการใช้กระแสไฟฟ้าเกินกว่าค่าที่กำหนดเมื่อเครื่องทำงาน (Over current)
E554
➣ แผงคอย์ดเย็นตัวในบ้านไม่มีความเย็น (อาจจะเกิดจากน้ำยารั่ว, ท่อบี้, EEV ไม่เปิด)
E422
➣ EEV หรือ วาล์วไม่เปิด ต้องทำการตรวจสอบ
➣ ทดสอบเดินเครื่องในโหมด Cool
➣ ทดสอบเดินเครื่องในโหมด Heat

หมายเหตุ:

  • = เปิด
  • = กระพริบ 
  • = ดับ  
การวิเคราะห์อาการเสียของมอเตอร์พัดลม

1. วิเคราะห์ไฟจ่ายจาก Main PCB ไปที่มอเตอร์ (Vdc)

BLDC1

2. วัดความต้านทานที่ตัวมอเตอร์ BLDC

BLDC2

ขั้นตอนการใส่ Option code

1.ทำการถอดถ่านด้านหลังออก 1 ก้อน (ก้อนใดก็ได้)

2.เมื่อทำการถอดถ่านออกแล้ว ให้กดปุ่ม Temp +,- ค้างไว้พร้อมกับใส่ถ่านกลับเข้าไป

- แล้วหน้าจอที่รีโมทจะโชว์ตามภาพด้านล่าง

 

3.ทำการป้อนตัวเลขของ Option code แต่ละ Model

 - ให้ทำการสังเกตุว่าเครื่องปรับอากาศ เป็นรุ่นอะไรจากสติ๊กเกอร์ label

 - แล้วทำการป้อนตัวเลขทีละหลัก โดยการกดปุ่ม Fan ขึ่น และ Fan ลง เพื่อเปลี่ยนค่า

**โดยค่าจะมีตั้งแต่ "0 - 9" --> "A-F" แล้วจะวนกลับมาที่เลข"0"

ไม่สามารถใส่ค่าถอยหลังได้ ให้กดไปด้านหน้าอย่างเดียว

 - เมื่อทำการใส่ค่าชุดแรกเสร็จแล้ว ให้กดปุ่ม "Mode" เพื่อใส่เลขถัดไป

 

4.เมื่อทำการป้อนตัวเลข Option code หมดทุกค่าแล้วให้ทำการ กดปุ่ม "Power" ยิงไปที่ตัวแอร์

 - เมื่อทำการยิงไปที่ตัวแอร์แล้ว ไฟกระพริบ 3 ดวง จะติดค้าง ดวงเดียว หรือ ถ้าเป็นตัวเลขจะโชว์เลข "24"

 

5.เมื่อยิงOption code เสร็จแล้ว ให้ทำการถอดถ่านออก 1 ก้อนจากด้านหลังของรีโมท แล้วกดปุ่มอะไรบนรีโมทก็ได้เพื่อทำให้รีโมทปรับเป็นปรกติ

 

 

ตัวอย่างแสดงตำแหน่งหลักตัวเลขของ Option code

Remote 4

ซ่อมหรือ อัพเกรดสินค้าใหม่

ซ่อมหรือ อัพเกรดสินค้าใหม่

ปรึกษางานซ่อม, สนใจสินค้าราคาพิเศษ

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ